Cyber Security Risk Assessments
ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ต่อการโจมตีทางไซเบอร์
(Cyber Security Risk Assessments)

ปกติแล้ว ในแต่ละองค์กร ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 10 เครื่องขึ้นไป และมีการใช้งานระบบส่วนกลาง เช่น เซอร์ฟเวอร์ สำหรับเก็บข้อมูลกลาง หรือ ใช้ระบบฐานข้อมูล มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีระบบการป้องกัน การโจมตี ทางภายนอก หรือแม้แต่ การป้องกันบุคคลภายในองค์กร นำข้อมูลลักลอบออกไปข้างนอก (DLP - Data Loss Protection) เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้บริหารองค์กร ควรต้องให้ความสำคัญ เป็นอันดับแรก ก่อนที่องค์กรจะขยาย หรือ ปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ ที่ไม่คาดฝันแล้ว จึงค่อยมาแก้ไข ซึ่งอาจจะสายเกินไปแล้ว เพราะเกิดความเสียหายแล้ว เช่น โดนมัลแวร์เข้ารหัสข้อมูลลูกค้าทั้งหมด ทำให้ทุกอย่างเป็นอัมพาต มูลค่าความเสียหาย หลายล้านบาท

การประเมินความเสี่ยง คืออะไร ทำอะไรบ้าง (What's in the Assessment?)

การประเมินความเสี่ยงด้านไซเบอร์ ใช้เวลาเซ็ตระบบไม่นาน เพื่อรวบรวมข้อมูลและประมวลผลออกมา โดยโปรแกรมจะออกเป็นรายงาน ที่เกี่ยวข้องดังนี้

  • รายงานการค้นพบ ช่องโหว่ต่างๆ ที่มีอยู่ตอนนี้
    (Current exploited vulnerabilities and risks discovery)
  • การโจมตีขั้นสูง ที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กรท่านได้ ทางไหนบ้าง
    (Zero trust approach to detect advanced attacks)
  • สิ่งที่แฮกเกอร์ทั้งหลาย มักใช้เป็นช่องทางในการโจมตี หรือแฮกเครื่องของท่าน
    (Common techniques and attacks used by hackers)
  • การแนะนำด้านความปลอดภัยในองค์กร ว่าต้องทำอย่างไร
    (Security recommendations)
  • ควรต้องทำอย่างไรบ้าง เพื่อแก้ไขสถานการณ์นี้
    (Path to remediation)
  • เรารับประเมินความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นในองค์กรของท่านฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

    จากความจริงดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว ไม่มีองค์กรไหน ที่อยากให้ตัวเอง อยู่ในความเสี่ยง ในการถูกแฮ็ก ถูกโจมตี จนทำให้ธุรกิจ ที่ท่านสร้างมา พังในเวลาชั่วข้ามคืนเท่านั้น การลงทุนด้านการป้องกัน ทางไซเบอร์ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง และทั้งนี้ เพื่อให้ท่านได้เห็นภาพ ปัจจุบันทั้งหมด ขององค์กรของท่าน ว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ อยู่ในระดับไหน เราสามารถ ส่งทีมที่มีความเชี่ยวชาญ ไปประเมิน หรือสามารถรีโมทเข้าไปแนะนำ ให้ท่านได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือ มีข้อผูกมัดใดๆ

    หากท่านผู้บริหารท่านใด สนใจในบริการของเรานี้ ติดต่อเราได้ พร้อมให้รายละเอียด เกี่ยวกับองค์กรของท่าน และซอฟท์แวร์ที่ใช้อยู่ เป็นต้น เพื่อนัดทีมงาน เข้าไปสำรวจและนำเสนอท่านในลำดับต่อไป

    คลิกส่งเมลแจ้งความต้องการของท่านได้ที่นี่

    หรือโทรปรึกษาได้ที่ 081 833 3737


    การตัดสินใจเลือก โปรแกรมป้องกันไวรัสที่ใช่

    คุณสมบัติของการป้องกันไวรัสนั้น ส่วนใหญ่ไม่มีใครยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แต่ละยี่ห้อจะถือเรื่องคุณสมบัตินี้เป็นความสำคัญอันดับแรกอยู่แล้ว ที่แตกต่างกันนั้น ส่วนใหญ่คือออฟชั่นต่างๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับคุณสมบัติหลัก แต่เป็นความยากง่ายในการใช้งาน ควบคุมดูแลเครื่องลูกข่าย และการกำหนดนโยบายในองค์กรของท่านเป็นต้น

    ดังนั้น หากฝ่ายไอทีของท่าน จะตัดสินใจว่าจะเลือกค่ายไหนนั้น นอกจากดูความคุ้มค่าเรื่องราคาแล้ว ยังต้องดูเรื่องคุณสมบัติรองเหล่านี้ด้วย เพราะว่าพอซื้อใช้งานแล้ว ท่านจะต้องใช้งานเป็นปี แบบไหนที่ไม่ชอบ หรือใช้งานยาก หรือมีคุณสมบัติไม่ตรงกับความต้องการหลักๆ ถ้าเป็นไปได้เราสนับสนุนให้ท่านทดลองใช้งานก่อนจะดีที่สุด ว่าค่ายไหนเหมาะสำหรับองค์กรท่านจริงๆ แล้วค่อยตัดสินใจซื้อ และสิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน คือ การสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ผู้ดูแล และบริหารเครือข่ายทุกแห่งในโลก ต้องทำเพราะเป็นสิ่งจำเป็น เผื่อว่าเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด อาจเกิดขึ้นกับข้อมูลของเราได้ แม้จะมีโปรแกรมแอนตี้ไวรัสติดตั้งอยู่ ก็ไม่อาจนอนใจได้ เราเป็นตัวแทนของแบรนด์ระดับโลกเช่น AOMEI Backupper ที่ให้ความมั่นใจได้ทุกครั้งว่า จะนำข้อมูลที่เก็บสำรองไว้ออกมาใช้งานได้อย่างแน่นอน หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับโปรแกรมสำรองข้อมูลที่ www.iobackup.com

    หากท่านเป็นฝ่ายไอที ท่านจะทราบดีถึงความสำคัญของการป้องกันระบบ สำหรับองค์กรที่โดน ransomeware เข้ารหัสเซอร์ฟเวอร์ไปแล้ว ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยซอฟท์แวร์ยี่ห้อใดๆ ในโลกในตอนนี้ ท่านต้องป้องกันเหตุก่อนที่จะเกิดได้อย่างเดียว บางท่านอาจโชคดี โดนแรนซั่มแวร์ (ransomeware) ที่สามารถหาคีย์ที่คนอื่นเคยโดนแล้ว เอามาเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เอามาถอดรหัสได้ คีย์ประเภทนี้ เป็นคีย์แบบคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง (Static keys) ซึ่งมักจะใช้กับแรนซั่มแวร์รุ่นเก่าๆ หากเป็นแรนซั่มแวร์ยุคนี้ จะใช้คีย์ที่เฉพาะ เปลี่ยนไปตลอดเวลา (Dynamic keys) ทำให้ไม่สามารถหาคีย์ได้จากเน็ตอีกแล้ว คนที่เคยจ่ายเงินค่าไถ่ ก็เอาคีย์ถอดรหัสมาเผยแพร่ แต่ใช้ไม่ได้ เพราะใช้ได้เฉพาะเครื่องที่เขาโดน หรือบางทีจ่ายเงินแล้ว ก็ไม่ได้คีย์ก็มี การป้องกันก่อนที่จะเกิดปัญหา จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

    antivirus ทั้งหมดที่เราจำหน่ายนี้ มั่นใจได้ในคุณภาพ เลือกซื้อเวอร์ชั่นที่เหมาะสมสำหรับองค์กรของท่านได้เลย โดยขอรับใบเสนอราคาจากเราได้ ตามเมนูที่กำหนดไว้ หรือหากท่าน ยังไม่มั่นใจว่าจะเลือกใช้ยี่ห้อใด เราขอแนะนำให้ท่านทดลองใช้งานก่อน โดยหลายยี่ห้อ ให้โอกาสท่านได้ดาวน์โหลดไปทดลองใช้งานฟรี 30 วัน แล้วค่อยตัดสินใจอีกครั้งหนึ่ง หรือติดต่อเราเพื่อขอทดลองใช้งานได้ฟรีเวอร์ชั่นที่ท่านสนใจ ขอให้เราเป็นคนแรก ที่จะได้รับเกียรติเสนอราคาให้ท่านวันนี้

    ศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Security)

    EDR - Endpoint Detection and Response

    คือ การให้รายละเอียด เส้นทางของการโจมตี รวมทั้งการแนะนำ วิเคราะห์ โดยเจ้าหน้าที่ของแบรนด์โดยตรง ถึงผู้ใช้งานโดยตรง ผ่านทางระบบนั้นๆ แบบนี้ป้องกันได้ในระดับ zero-day attack (ไวรัสที่ไม่มีรูปแบบมาก่อน) ราคาจะสูงกว่ารุ่นที่ไม่มี EDR

    MDR - Managed Detection and Response

    คือ การบริหาร ระบบการป้องกันไวรัสทั้งหมด โดยบุคคลภายนอก ให้ดำเนินการแทนท่านแบบรีโมท แบบนี้ค่าบริการจะแพงที่สุด แต่ท่านก็ไม่ต้องจ้างพนักงานประจำ ที่มีความเชี่ยวชาญด้วยตนเอง

    NDR - Network Detection and Response

    คือ การใช้ข้อมูลจากเครือข่ายภายใน ในการประมวลข้อมูล นำมาประกอบ เพื่อตอบสนองในการวางแผนป้องกัน

    XDR - Extended Detection and Response

    คือ การรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งด้วยกัน ในการประมวลข้อมูล นำมาประกอบ เพื่อตอบสนองในการวางแผนป้องกัน เช่น ข้อมูลจากไฟร์วอลล์ เป็นต้น ซึ่งกรณีนี้ ลูกค้าต้องมีอุปกรณ์ไฟร์วอลล์ ที่เข้ากันได้ หรือเป็นแบรนด์เดียวกันกับโปรแกรมป้องกันไวรัส

    DLP - Device Lock Protection

    คือ ความสามารถในการเข้ารหัส (encrypt) ข้อมูลในเครื่อง หรืออุปกรณ์เป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุปกรณ์ที่พกพาได้ และสามารถสั่งควบคุมจากระยะไกลได้ ด้วยการสั่งลบ หรือตัดอุปกรณ์นั้นๆ ออกจากระบบเครือข่ายเมื่อสูญหาย เพื่อความมั่นคงด้านข้อมูลในองค์กรสูงสุด

    Sandbox หรือ sandboxing

    คือ ความสามารถในการจำลองระบบปฏิบัติการให้เหมือนจริง และสามารถเฝ้าดู ติดตามพฤติกรรมของ โปรแกรมที่น่าสงสัยได้ โดยไม่กระทบกับระบบจริง ของผู้ใช้งานแต่อย่างใด

    Patch Management

    คือ ความสามารถ ในการเรียกใช้งานการอัปเดตโปรแกรมระบบปฏิบัติการของเครื่อง ให้ทันสมัยอยู่เสมอ โดยอัตโนมัติ และยังอาจรวมไปถึง โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ ที่นิยมใช้งานกันด้วย

    System Management

    คือ ความสามารถ ในการเรียกดู และรายงาน รายละเอียด ของเครื่องผู้ใช้งานในเครือข่าย รวมไปถึงระบบฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์ ที่ใช้ หรือแม้แต่ การบริหารจัดการเรื่องไลเซ่นส์ของโปรแกรมต่างๆ ทำให้ผู้บริหารเครือข่าย ประหยัดเวลาในการรวบรวมข้อมูล

    Application Control

    คือ ระบบควบคุมการใช้งานแอปใดๆ ที่ติดตั้งอยู่ในระบบ ให้หรือไม่ให้เปิดใช้งานโดยผู้ใช้งาน ควบคุมโดยผู้บริหารเครือข่าย

    Web Access Control

    คือ การควบคุมการเข้าใช้งานเว็บใดๆ ที่ต้องห้าม ในระยะเวลาที่กำหนด ควบคุมโดยผู้บริหารเครือข่าย

    Device Control

    คือ การควบคุมการใช้งานอุปกรณ์เก็บข้อมูล หรือพกพาใดๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาต ที่นำมาต่อพ่วงกับเครื่องในเครือข่าย ควบคุมโดยผู้บริหารเครือข่าย

    Remote Access

    คือ ความสามารถในการสร้างการเชื่อมโยงไปที่เครื่องลูกข่าย เสมือนหนึ่งนั่งทำงานอยู่หน้าเครื่อง ควบคุมโดยผู้บริหารเครือข่าย

    โปรแกรมแอนตี้ไวรัส แต่ละยี่ห้อ และรุ่นต่างๆ มีความสามารถในการจัดการต่างๆ กันไป แล้วแต่ว่า ท่านต้องการ หรือมีความจำเป็นต้องใช้งานคุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้หรือไม่ ซึ่งก็จะทำให้ราคาสูงขึ้นตามความสามารถในการจัดการ


    แอนตี้ไวรัส ประเทศไทย โดย บจก. อมิเพลย์
    antivirusthailand.com , 2024